โคลง

ประวัติความเป็นมาของโคลง

คำประพันธ์ประเภทโคลงปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในลิลิตโองการแช่งน้ำซึ่งเป็นวรรณคดีเล่มแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีล้อน้ำพิพัฒน์สัตยา

ลักษณะบังคับของโคลง

1.คณะ

คณะของโตลงนั้นมิได้เป็นลักษณะเดียวกันเหมือนกับคำประพันธ์ชนิดอื่น คณะจะเป็นไปตามประเภทของโคลง

2.สัมผัส

การบังคับสัมผัสในการแต่งโคลงจะมีการบังคับเฉพาะสัมผัสนอกเท่านั้น ส่วนสัมผัสในเป็นสัมผัสไม่บังคับ จะมีหรือไม่มีก็ได้

3.คำเอก คำโท

คำเอก คำโทนับว่า เป็นลักษณะบังคับของโคลงโดยเฉพาะก็ว่าได้

หมายเหตุ ; คำที่ไม่บังคับเป็นคำเอก คำโท เราเรียกกันว่า คำสุภาพ

ชนิดของโคลง

โคลงแบ่งออกเป็น 5 ชนิด

1.โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ คือ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ โคลงสี่สุภาพ

1โคลงสองสุภาพ

1.2โคลงสามสุภาพ

1.3โคลงสี่สุภาพ

2.โคลงดั้น

2.1โคลงดั้นวิวิธมาลี

2.2โคลงดั้นบาทกุญชร

3.โคลงกระทู้ คือ โคลงที่ต้องแต่งตามหัวข้อที่วางไว้ นิยมแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพโดยนำเอาคำที่เป็นกระทู้นั้นวางเรียงไว้หน้าแต่ละบท

4.กลโคลง คือ การแต่งโคลงที่มีลักษณะพิเศษไปจากแบบแผนที่มีอยู่แบ่งออก 2 ชนิด คือ

4.1โคลงกลบท คือ โคลงที่มีแบบแผนการกำหนดสัมผัสสระ

4.2โคลงกลอักษร คือ โคลงที่มีลักษณะซ่อนเงื่อน ผู้อ่านต้องคิดค้นวิธีอ่านเอาเอง

 

 

 


ที่มา : หนังสือแต่งคำประพันธ์ม.4

โดย : นาย อนุพันธ์ เลี้ยงพรรัตนะ, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2545